ข้ามไปเนื้อหา

รูเบน ลอฟตัส-ชีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูเบน ลอฟตัส-ชีก
ลอฟตัส-ชีกขณะฝึกซ้อมกับทีมชาติอังกฤษในฟุตบอลโลก 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม รูเบน ไอรา ลอฟตัส-ชีก[1]
วันเกิด (1996-01-23) 23 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี)[2]
สถานที่เกิด ลูอิชัม ประเทศอังกฤษ
ส่วนสูง 6 ft 3 in (1.91 m)[3]
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
มิลาน
หมายเลข 8
สโมสรเยาวชน
2004–2014 เชลซี
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2014–2023 เชลซี 91 (7)
2017–2018คริสตัลพาเลซ (ยืมตัว) 24 (2)
2020–2021ฟูลัม (ยืมตัว) 30 (1)
2023– มิลาน 0 (0)
ทีมชาติ
2011 อังกฤษ รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี 2 (1)
2012–2013 อังกฤษ รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 8 (1)
2013–2015 อังกฤษ รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี 13 (6)
2015–2017 อังกฤษ รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี 17 (7)
2017–2018 อังกฤษ 10 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 (UTC)

รูเบน ไอรา ลอฟตัส-ชีก (อังกฤษ: Ruben Ira Loftus-Cheek; เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2539) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ ปัจจุบันลงเล่นให้กับมิลาน สโมสรในเซเรียอา และทีมชาติอังกฤษ ในตำแหน่งกองกลาง

ลอฟตัส-ชีก เริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอลกับทีมเยาวชนของเชลซี และก้าวขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ได้สำเร็จในอีก 10 ปีต่อมาเมื่อเขาอายุ 18 ปีเท่านั้น และพาทีมคว้าแชมป์ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19[4] และพรีเมียร์ลีกอีก 2 สมัย[5][6] นอกจากนี้ ลอฟตัส-ชีก ยังลงเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017[7] และเขายังเป็น 1 ใน 23 ผู้เล่นของทีมชาติอังกฤษ ในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย[8] ซึ่งเขาพาทีมจบลำดับที่ 4 ของการแข่งขัน[9]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ลอฟตัส-ชีก เกิดในลูอิชัม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[10] โดยเขามีเชื้อสายกายอานา[11] และเขามีพี่ชายคนละแม่เป็นอดีตนักฟุตบอลที่เคยลงเล่นในพรีเมียร์ลีก นั่นคือ คาร์ล คอร์ต และ ลีออน คอร์ต[12][13] รวมถึงเขายังมีน้องชายที่มีพ่อแม่เดียวกันเป็นนักฟุตบอลกึ่งอาชีพ นั่นคือ โจ ลอฟตัส-ชีก[14]

สโมสรอาชีพ

[แก้]

เชลซี

[แก้]

ชุดเยาวชน

[แก้]

ลอฟตัส-ชีก เข้าร่วมทีมเยาวชนของเชลซี ในปี ค.ศ. 2004 ตอนเขาอายุ 8 ขวบ, ในปี ค.ศ. 2012 เขาได้รับโอกาสลงเล่นกับทีมรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีในเอฟเอยูธคัพนัดชิงชนะเลิศ กับ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ในนัดที่สองที่อีวูดพาร์คในฐานะตัวสำรอง ซึ่งทีมของเขาเอาชนะไป 1–0 (รวมผล 2 นัดชนะ 4–1)[15] ในฤดูกาลถัดมาเขาได้ลงเล่นกับทีมรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ทั้งสิ้น 18 นัด และได้ลงเล่นต่อเนื่องไปยังรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี อีกทั้งสิ้น 9 นัด, ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 เขาได้รับเลือกให้เดินทางไปกับทีมชุดใหญ่เพื่อแข่งขันเกมกระชับมิตรสองนัดกับแมนเชสเตอร์ซิตี ที่สหรัฐอเมริกา โดยที่เขาได้โอกาสลงเล่นทั้งสองนัด[16], ในฤดูกาล 2013–14 ลอฟตัส-ชีก ช่วยพาทีมเป็นแชมป์เอฟเอยูธคัพ[17] และพรีเมียร์ลีก รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี ได้สำเร็จ[18][19] (ปัจจุบันเปลี่ยนระบบเป็น รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี แล้ว)

ฤดูกาล 2014–15

[แก้]
ลอฟตัส ชีค ขณะเล่นให้กับเชลซีชุดใหญ่เป็นครั้งแรก พบกับ สปอร์ติงลิสบอน ค.ศ. 2014

ลอฟตัส-ชีก ลงเล่นให้กับเชลซีชุดใหญ่ในเกมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2014 ในรายการยูฟ่าแชมเปียนลีก รอบแบ่งกลุ่ม ในนัดที่เชลซี เอาชนะ สปอร์ติงลิสบอน 3–1 ที่สแตมฟอร์ดบริดจ์ โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองแทนที่ของเซสก์ ฟาเบรกัส ในนาทีที่ 83[20] และได้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2015 ในเกมที่เสมอกับแมนเชสเตอร์ซิตี 1–1 โดยเป็นผู้เล่นสำรองลงมาแทน โอสการ์ ในช่วงทดเวลานาทีที่ 2 [21]

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ โชเซ มูรีนโย ผู้จัดการทีมของเชลซีในขณะนั้น ได้เลือก ลอฟตัส-ชีก ขึ้นมาอยู่ในทีมชุดใหญ่อย่างเป็นทางการพร้อมกับ อิซซัค บราวน์ โดยเขาได้สวมเสื้อหมายเลข 36[22]

ในวันที่ 13 เมษายน ลอฟตัส-ชีก ได้กลับไปลงเล่นให้กับชุดเยาวชนของเขลซี ในรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่ายูธลีก ฤดูกาล 2014–15 กับชัคตาร์โดเนตสค์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเชลซีเอาชนะด้วยผลคะแนน 3–2[23], ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2015 ตัวเขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงให้กับเชลซีชุดใหญ่เป็นครั้งแรกในนัดที่เจอกับ ลิเวอร์พูล[24] โดยเขาจ่ายบอลไม่พลาดเลยตลอดทั้งเกม 60 นาทีที่ลงเล่น และเขาได้ถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีดังกล่าวโดยมี เนมันยา มาติช ลงเล่นแทน ซึ่งเกมนี้จบลงด้วยผลเสมอ 1–1 [25][26]

ถึงแม้ว่าลอฟตัส-ชีกจะลงเล่นด้วยเวลารวมไม่ถึง 70 นาทีจากการลงเล่น 3 นัดในฤดูกาลนี้ แต่โชเซ มูรีนโย กล่าวว่าเขาจะได้รับเหรียญของผู้ชนะพรีเมียร์ลีก สำหรับผลงานของเขาในฤดูกาลนี้[5]

ฤดูกาล 2015–16

[แก้]
ลอฟตัส-ชีก ขณะลงเล่นให้กับเชลซีใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก พบกับ มัคคาบี เทล อาวีฟ ในปี ค.ศ. 2015

ในวันที่ 10 มกราคม 2016 ในเกมเอฟเอคัพที่เชลซี พบกับ สคันธอร์ป ยูไนเต็ด ลอฟตัส-ชีก ได้ลงเล่นเป็นตัวสำรองลงมาแทน โอสการ์ ในช่วงพักครึ่ง และสามารถทำประตูแรกในการแข่งขันระดับอาชีพได้ในช่วงนาทีที่ 68 เป็นประตู 2–0 และผลก็จบลงด้วยคะแนนนี้ [27]

ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2016 ลอฟตัส-ชีก ได้เซ็นสัญญาเป็นเวลา 5 ปีหลังจากสร้างผลงานดีเมื่อได้ลงเล่นกับทีมชุดใหญ่[28], ในวันที่ 2 เมษายน ลอฟตัส-ชีก สามารถทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีกได้ในนัดที่พบกับ แอสตันวิลลา ที่วิลลาพาร์ก โดยเขาเป็นคนทำประตูขึ้นนำ 1–0 ซึ่งจบเกมเชลซีเอาชนะไป 4–0[29] และในอีก 2 นัดต่อมาซึ่งพบกับ สวอนซีซิตี และ แมนเชสเตอร์ซิตี (ตามลำดับ) เขาก็ได้ลงเล่นเป็นตัวจริงเช่นกัน[30] [31]

ฤดูกาล 2016–17

[แก้]

ภายใต้ผู้จัดการทีมคนใหม่อย่าง อันโตนีโอ กอนเต ในช่วงปรีซีซั่นตัวเขาถูกจัดให้ไปลงเล่นในตำแหน่งกองหน้าอยู่บ่อยครั้ง[32] โดยฤดูกาลนี้เขาได้เปลี่ยนจากหมายเลขเสื้อเดิม 36 เป็นเลข 14 แทนที่ของเบอร์ทรานด์ ตราโอเร่ ที่ย้ายออกจากทีมไปด้วยสัญญายืมตัว[33]

ในวันที่ 29 สิงหาคม 2016 ลอฟตัส-ชีก ได้ลงเล่นในเกม อีเอฟแอลคัพ รอบสอง ซึ่งเชลซีพบกับ บริสตอล โรเวอร์ส ในนาทีที่ 48 เขายังเปิดบอลให้มีชี บัตชัวยี ทำประตูที่สามเป็นประตูชัยให้เชลซีชนะไป 3–2 ได้[34] โดยเขาได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมในสแตมฟอร์ดบริดจ์ ขณะเดินออกจากสนามในช่วงการเปลี่ยนตัวในนาทีที่ 82 ซึ่งมีโอสการ์ ลงสนามมาแทน[35]

ถูกยืมตัวไป คริสตัล พาเลซ

[แก้]
"ผมมีความคิดย้ายมาพาเลซ ผมคิดว่านี่คือโอกาสดีสำหรับตัวผม ผมอาศัยอยู่ไม่ไกลจากที่นี่ ผมเกิดในลูอิสแฮม พาเลซคือสโมสรที่ดี ดังนั้นมันคือเรื่องดีที่ได้ลงเล่นที่นี่และเป็นส่วนหนึ่งกับทีม พวกเขาคือทีมที่แข็งแกร่งและผมอยากเป็นส่วนหนึ่งในฤดูกาลนี้""

ลอฟตัส-ชีก กล่าวผ่านเว็บไซต์ต้นสังกัดใหม่[36]

ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 ลอฟตัส-ชีก ได้บรรลุข้อตกลงในการเข้าร่วมทีม คริสตัลพาเลซ ด้วยสัญญายืมตัว[37] ภายใต้การคุมทีมของฟรังก์ เดอ บูร์ เขาได้ลงเล่นเต็มเกมในนัดแรกของฤดูกาลพรีเมียร์ลีกกับ ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ ที่เซลเฮิสต์พาร์ก ซึ่งทีมของเขาแพ้ไป 3–0[38], ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2017 ลอฟตัส-ชีค ทำประตูแรกให้กับทีมได้ในเกมเหย้ากับสโตกซิตี แต่ทีมของพวกเขาแพ้ไปด้วยคะแนน 2–1[39], ในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2018 ลอฟตัส-ชีก ทำประตูให้กับคริสตัล พาเลซได้อีกครั้งในเกมที่ทีมของพวกเขาเอาชนะ เลสเตอร์ซิตี 5–0 [40]โดยเป็นประตูที่สองและประตูสุดท้ายให้กับทีม

กลับสู่เชลซี

[แก้]

ฤดูกาล 2018–19

[แก้]

ในฤดูกาล 2018–19 ลอฟตัส-ชีก ได้กลับสู่ทีมเชลซีหลังจากสัญญาการยืมตัวสิ้นสุดลง โดยเขาได้สวมเสื้อหมายเลข 12, ในวันที่ 25 ตุลาคม 2018 ตัวเขาทำแฮตทริก (3 ประตู) ให้กับเชลซีได้ในเกมเหย้ากับ บาเตบอรีซอฟ ในรายการยูฟ่ายูโรปาลีก ซึ่งสุดท้ายแล้วเชลซี ชนะไป 3–1[41], ในอีก 3 วันต่อมา เขาทำประตูแรกในฤดูกาลนี้ในลีกได้ในเกมที่ออกไปเยือน เบิร์นลีย์ ที่เทิร์ฟมัวร์ ซึ่งเชลซีเอาชนะไป 4–0[42], ในวันที่ 5 พฤษภาคม ลอฟตัส-ชีก ทำ 1 ประตูในเกมพรีเมียร์ลีกกับ วัตฟอร์ด ได้ทำให้เชลซีเอาชนะไป 3–0 และทำให้ทีมของพวกเขาได้ลงเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาลต่อไป[43], ในนัดถัดมาในการแข่งขัน ยูฟ่ายูโรปาลีก รอบรองชนะเลิศ นัดที่สอง ที่สแตมฟอร์ดบริดจ์ พบกับ ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท เขาได้ทำประตูขึ้นนำให้เชลซีขึ้นนำก่อนที่จะโดนตีเสมอเป็น 1–1 จนต้องเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ และสุดท้ายทีมของพวกเขาเอาชนะไป 4–3 ในช่วงการดวลจุดโทษตัดสิน ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[44], ในวันที่ 15 พฤษภาคม ลอฟตัส-ชีก ได้ร่วมลงเล่นเกมการกุศลกับ นิวอิงแลนด์ เรฟโวลูชั่น ที่สหรัฐ ในเกมนี้เขามีอาการบาดเจ็บอย่างหนัก จนอาจต้องเข้ารักษาตัวนานถึง 1 ปีเต็ม และทำให้ไม่สามารถลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศของยูฟ่ายูโรปาลีกได้[45]

ฤดูกาล 2019–20

[แก้]

ในวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ลอฟตัส-ชีก ได้ทำการต่อสัญญาฉบับใหม่กับเชลซี ออกไปอีก 5 ปีจนถึง ค.ศ. 2024[46][47], ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ลอฟตัส-ชีก ได้กลับมาสู่สนามแข่งขันอีกครั้งในฐานะตัวสำรองในเกมพรีเมียร์ลีกกับ บอร์นมัท[48]รวมถึงในเกมถัดมากับลิเวอร์พูล ในวันที่ 4 มีนาคม ในรายการเอฟเอคัพ[49] แต่ก็ยังมิได้ถูกส่งลงสนาม ก่อนที่ฟุตบอลลีกอังกฤษได้ถูกระงับชั่วคราวหลังจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา[50] เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้น ลอฟตัส-ชีก ได้กลับมาลงเล่นเป็นตัวจริงอีกครั้งในวันที่ 21 มิถุนายน ในเกมนัดแรกหลังจากการหยุดแข่งขันในเกมกับ แอสตันวิลลา ซึ่งทีมของพวกเขาเอาชนะไป 1–2[51]

ถูกยืมตัวไป ฟูลัม

[แก้]

ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2020 ลอฟตัส-ชีก ได้ย้ายเข้าร่วมทีม ฟูลัม ด้วยสัญญายืมตัวตลอดฤดูกาล 2020–21[52]

ระดับทีมชาติ

[แก้]
ลอฟตัส-ชีก (ขวา) ขณะลงเล่นให้กับ ทีมชาติอังกฤษ ใน ฟุตบอลโลก 2018 พบกับ ปานามา

ลอฟตัส-ชีก ลงเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษ รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ในปี ค.ศ. 2011 และลงเล่นต่อไปในระดับ รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี , อายุไม่เกิน 19 ปี หลังจากทำผลงานได้ดีในรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ใน ค.ศ. 2015 เขาได้รับโอกาสลงเล่นในรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี [53] เพื่อแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่ สาธารณรัฐเช็ก[54] ซึ่งทีมชาติอังกฤษตกรอบแรกของการแแข่งขัน โดยที่ตัวเขาได้รับโอกาสลงเล่นในฐานะตัวสำรองใน 2 เกม[55] [56]

ในปี ค.ศ. 2016 ลอฟตัส-ชีค เข้าร่วมการแข่งขันตูลงทัวร์นาเมนต์ กับทีมชาติอังกฤษ รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี และเขายังทำประตูได้ในรอบชิงชนะเลิศกับฝรั่งเศส เป็นประตูขึ้นนำ 2–0 ก่อนจบลงด้วยชัยชนะของอังกฤษด้วยผล 2–1 และยังได้เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน[57] ซึ่งเขากลายเป็นนักเตะคนแรกของอังกฤษที่ได้รับรางวัลดังกล่าวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ที่แอลัน เชียเรอร์ ได้รางวัลนี้[58]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 เขาได้รับเลือกให้เข้าร่วมทีมชาติอังกฤษ ชุดใหญ่เป็นครั้งแรกโดย ลอฟตัส-ชีค ได้ลงเล่นเป็นครั้งแรกในนัดที่พบกับเยอรมนี ในวันที่ 10 พฤศจิกายนที่เวมบลีย์ ซึ่งเขาได้ลงเล่นครบ 90 นาทีและยังได้เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันอีกด้วย ซึ่งผลจบลงด้วยผลเสมอ 0–0 [7]

ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2018 แกเร็ท เซาท์เกต ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ ชุดใหญ่ ได้เรียกลอฟตัส-ชีค ให้เป็นหนึ่งใน 23 คนเพื่อแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย [8]โดยเขาได้ลงเล่นในนัดแรกของการแข่งขันในวันที่ 18 มิถุนายน 2018 กับ ทีมชาติตูนิเซีย หลังจากถูกเปลี่ยนตัวลงแทนที่ เดเล อัลลี ในนาทีที่ 80 ซึ่งทีมของพวกเขาเอาชนะไปได้ 2–1 [59] และได้ลงเล่นเป็นตัวจริงในอีก 2 นัดถัดมา ในรอบแบ่งกลุ่ม และได้ลงเล่นอีก 1 นัดในนัดชิงที่สาม กับ เบลเยี่ยม ที่เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ซึ่งทีมชาติของพวกเขาได้พ่ายแพ้ไป 2–0 ทำให้ทีมชาติอังกฤษ จบการแข่งขันที่ลำดับที่ 4[9]

รูปแบบการเล่น

[แก้]

หลังจากตัวเขาสามารถก้าวขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ได้สำเร็จ บาร์นีย์ โรเนย์ ผู้สื่อข่าวแห่ง เดอะการ์เดียน ได้กล่าวถึงลอฟตัส-ชีก ว่า "นี่คือผู้เล่นที่น่าสนใจ" ยังกล่าวอีกว่า "การป้องกันของเขา และการเป็นกองกลางแนวลึกของเขานั้น สามารถครอบครองบอลได้อย่างเนียนนิ่งและสามารถเข้าสกัดบอลได้อย่างเป็นธรรมชาติ" และเขาเหมาะสมกับการเล่นชุดใหญ๋ให้กับทีมชาติอังกฤษ[60], ลอฟตัส-ชีก ยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับ มิชชาเอล บัลลัค อดีตกองกลางของทีมชาติเยอรมนี จากการกล่าวของเกล็น ฮอดเดิล อดีตกองกลางของเชลซีและทีมชาติอังกฤษ โดยเขากล่าวว่า "ร่างกายและวิธีการเล่นของเขาทำให้ฉันนึกถึงบัลลัค เขาเข้าไปในพื้นที่ของเขาแล้วเขาก็เคลื่อนที่ลูกบอลได้ดี"[61], หลังจากพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015–16 เปิดฤดูกาล โชเซ มูรีนโย ผู้จัดการทีมชาวโปรตุเกสของเขลซีในขณะนั้น ได้กล่าวถึงเขาว่า "เขานั้นยอดเยี่ยมกับการเล่นบอล เขาไม่ได้ดูเหมือนอายุ 19 - เขาดูแข็งแรงมั่นคงและเป็นผู้ใหญ่", เลียม ทูมีย์ ผู้สื่อข่าวของ โฟร์โฟร์ทู ได้กล่าวว่า "เขาไม่ค่อยตัดสินใจได้ไม่ดีเมื่อเขาครอบครองบอล และเขาเป็น "การผสมผสานที่หายากของร่างกายตามธรรมชาติและทักษะที่สละสลวย" ซึ่งเขาได้เปรียบว่าเหมือนอย่างกับปอล ป็อกบา[62]

ตลอดการค้าแข้ง ลอฟตัส-ชีกได้ลงเล่นในตำแหน่ง กองกลางตัวกลาง หรือ กองกลางตัวรุก อยู่เป็นประจำ แต่อันโตนีโอ กอนเต อดีตผู้จัดการทีมเชลซี ได้เคยให้โอกาสตัวเขาลงเล่นในตำแหน่งกองหน้า โดยกอนเต กล่าวว่า "เขามีเทคนิคที่ดีและเขาสามารถดวลกับผู้เล่นฝั่งตรงข้ามแบบ 1 ต่อ 1 ได้อย่างยอดเยี่ยม"[63]

สถิติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022
สโมสร ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ยุโรป อื่น ๆ รวม
ดิวิชัน ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
เชลซี 2014–15[64] พรีเมียร์ลีก 3 0 0 0 0 0 1[a] 0 4 0
2015–16[65] พรีเมียร์ลีก 13 1 2 1 1 0 1[a] 0 0 0 17 2
2016–17[66] พรีเมียร์ลีก 6 0 3 0 2 0 11 0
2018–19[67] พรีเมียร์ลีก 24 6 2 0 3 0 11[b] 4 0 0 40 10
2019–20[68] พรีเมียร์ลีก 7 0 2 0 0 0 0 0 9 0
2020–21[69] พรีเมียร์ลีก 1 0 0 0 0 0 1 0
2021–22[70] พรีเมียร์ลีก 24 0 5 1 3 0 8[a] 0 0 0 40 1
2022–23[71] พรีเมียร์ลีก 13 0 0 0 1 0 5[a] 0 19 0
รวม 91 7 14 2 10 0 26 4 0 0 141 13
คริสตัลพาเลซ (ยืมตัว) 2017–18[72] พรีเมียร์ลีก 24 2 0 0 1 0 25 2
ฟูลัม (ยืมตัว) 2020–21[69] พรีเมียร์ลีก 30 1 2 0 32 1
รวมอาชีพ 145 10 16 2 11 0 26 4 0 0 198 16

ทีมชาติ[73]

[แก้]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
อังกฤษ 2017 2 0
2018 8 0
รวม 10 0

เกียรติประวัติ

[แก้]

เชลซี (ชุดเยาวชน)

เชลซี

อังกฤษ รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี

รางวัลส่วนบุคคล

  • ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันตูลงทัวร์นาเมนต์: 2016[58]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FIFA World Cup Russia 2018: List of players: England" (PDF). FIFA. 15 July 2018. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 June 2018. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  2. "Ruben Loftus-Cheek". 11v11.com. AFS Enterprises. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  3. "R. Loftus-Cheek: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 22 September 2018.
  4. 4.0 4.1 Bevan, Chris (29 May 2019). "Chelsea 4–1 Arsenal". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
    "2018/19 EUROPA LEAGUE WINNERS!!! 🏆😃 #UELfinal #CFC #Chelsea". Chelsea F.C. 29 May 2019. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019 – โดยทาง Instagram.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Every Chelsea player to get a Premier League medal says Jose Mourinho". ESPN FC.
  6. 6.0 6.1 "Ruben Loftus-Cheek: Overview". Premier League. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  7. 7.0 7.1 McNulty, Phil (10 November 2017). "England 0–0 Germany". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017.
  8. 8.0 8.1 "England World Cup squad: Trent Alexander-Arnold in 23-man squad". BBC Sport. 16 May 2018. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  9. 9.0 9.1 "World Cup 2018:England finish fourth after Belgium defeat". Standard. 14 July 2018. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
  10. Fifield, Dominic (30 January 2018). "Loftus-Cheek returns to Chelsea for injury treatment amid World Cup fears". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 November 2018.
  11. "FIFA World Cup 2018: The children of immigrants who want to bring World Cup glory to England". Marca. Madrid.
  12. "FIFA World Cup 2018: The children of immigrants who want to bring World Cup glory to England - MARCA in English".
  13. Hayes, Garry. "Ruben Loftus-Cheek Talks International Champions Cup, Chelsea Hopes and More".
  14. "Preview: Eversley & California, Joe Loftus-Cheek and all the step 6 openers". Football in Bracknell. 3 August 2018. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  15. 15.0 15.1 Benson, Ryan (9 May 2012). "Blackburn 1–0 Chelsea (Agg 1–4): Visitors win FA Youth Cup despite Payne-inspired defeat in second leg". Goal.com. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  16. "Ruben Loftus-Cheek Profile". Chelsea F.C.
  17. 17.0 17.1 Reid, Jamie (6 May 2014). "Chelsea seal Youth Cup glory after thriller at the Bridge". The Football Association. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  18. 18.0 18.1 "#12 Ruben Loftus-Cheek". Transfermarkt. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  19. "Ruben Loftus-Cheek Profile". Chelsea Fc. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  20. Williams, Adam (10 December 2014). "Chelsea 3–1 Sporting Lisbon". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  21. McNulty, Phil (31 January 2015). "Chelsea 1–1 Manchester City". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  22. "More Academy graduates in first team squad". Chelsea F.C. 3 February 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
  23. 23.0 23.1 "Brown inspires Chelsea to Youth League glory". UEFA. 13 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017.
  24. "Ruben Loftus-Cheek gets first Chelsea start against Liverpool". ESPN FC. 10 May 2015. สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
  25. Higginson, Marc (10 May 2015). "Chelsea 1–1 Liverpool". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  26. "Ruben Loftus-Cheek: Analysis of the Chelsea midfielder's full debut".
  27. Emons, Michael (10 January 2016). "Chelsea 2–0 Scunthorpe United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  28. "New deal for Loftus-Cheek". Chelsea F.C. 29 February 2016.
  29. Henson, Mike (2 April 2016). "Aston Villa 0–4 Chelsea". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2 April 2016.
  30. "Swansea 1–0 Chelse".
  31. "Chelsea 0–3 Man City".
  32. "Conte: Good schooling". Chelsea F.C. 20 July 2016.
  33. "Squad list announced". Chelsea F.C. สืบค้นเมื่อ 20 April 2020.
  34. "Chelsea 3–2 Bristol Rovers". BBC Sport. 23 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  35. "Ruben Loftus-Cheek impressing as a striker for Antonio Conte's Chelsea". Sky Sports. 24 August 2016.
  36. "OFFICIAL: พาเลซยืม"ลอฟตัส-ชีค"จากสิงห์ 1 ปี". goal.com (Thailand).
  37. "Loftus-Cheek signs for Crystal Palace". Crystal Palace F.C. 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017.
  38. "Loftus-Cheek signs for Crystal Palace". Crystal Palace F.C. 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017.
  39. "Crystal Palace 2–1 Stoke City". BBC Sport. 25 November 2017. สืบค้นเมื่อ 17 July 2018.
  40. "Crystal Palace 5–0 Leicester City". BBC Sport. 28 April 2018. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  41. "Chelsea 3–1 Bate Borisov". 25 October 2018 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  42. "Burnley 0–4 Chelsea". 28 October 2018 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  43. "Chelsea move into third place with victory over wasteful Watford". The Guardian. 6 May 2019.
  44. "Kepa stars in shootout drama as Chelsea reach EuropaLeague final". FOX Sports (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 10 May 2019.
  45. Fifield, Dominic (16 May 2019). "Chelsea's Ruben Loftus-Cheek set to miss Europa League final with injury". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
  46. "Ruben Loftus-Cheek signs new long-term Chelsea contract | Official Site | Chelsea Football Club". ChelseaFC.
  47. "Ruben Loftus-Cheek signs new Chelsea deal until 2024". BBC Sport. 6 July 2019.
  48. "MATCH REPORT: BOURNEMOUTH 2 CHELSEA 2". Chelsea. 29 February 2020.
  49. "MATCH REPORT: CHELSEA 4 EVERTON 0". Chelsea Fc. 4 March 2020.
  50. "Premier League fixtures: Every postponed EPL game and remaining match following coronavirus pandemic". Standard.
  51. AVL 1-2 CHE Premierleague.com 21 June 2020 สืบค้นเมื่อ 20 July 2020
  52. OFFICIAL : เชลซีปล่อย ลอฟตัส-ชีค ซบฟูแลมสัญญายืม[ลิงก์เสีย] goal.com 6 ตุลาคม ค.ศ. 2020 สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2020
  53. "Ruben Loftus-Cheek". The Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-16. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017.
  54. "Ruben Loftus-Cheek". Independent. 20 May 2015. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
  55. "England 0-1 Portugal". UEFA. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
  56. "2015 EURO UNDER-21 CHAMPIONSHIP Sweden U21 1-0 England U21". BBC. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
  57. "England beat France to win Toulon Tournament for first time in 22 years". The Guardian. London. Press Association. 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  58. 58.0 58.1 58.2 Maston, Tom (29 May 2016). "Chelsea's Loftus-Cheek named Player of the Toulon Tournament". Goal.com. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  59. Taylor, Daniel (19 June 2018). "Kane double ensures England defeat Tunisia in World Cup opener". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 June 2018.
  60. Ronay, Barney (10 December 2014). "Chelsea's Ruben Loftus-Cheek gives glimpse of future against Sporting". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  61. Bairner, Robin (2 April 2016). "He reminds me of Ballack' – Hoddle on Loftus-Cheek". Goal.com. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  62. Twomey, Liam (1 December 2015). "Mourinho risks making Ruben Loftus-Cheek Chelsea's Paul Pogba". FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  63. "Conte Schooling". Chelsea Fc. 20 July 2016.
  64. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2014/2015". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  65. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2015/2016". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  66. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2016/2017". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 18 October 2017.
  67. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2018/2019". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
  68. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2019/2020". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  69. 69.0 69.1 "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2020/2021". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 19 December 2021.
  70. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2021/2022". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  71. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2022/2023". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 6 August 2022.
  72. "Games played by รูเบน ลอฟตัส-ชีก in 2017/2018". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
  73. "Ruben Loftus-Cheek". National Football Teams. Benjamin Strack-Zimmermann. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  74. McNulty, Phil (24 February 2019). "Chelsea 0–0 Manchester City". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]